โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ พ.ศ. 2565 ใช้สี น้ำเงิน-ทอง … สีทอง หมายถึงความร่ำรวย เจริญรุ่งเรือง ส่วนสีน้ำเงิน หมายถึง ความชุ่มเย็น อิสระและปลอดโปร่งอันสื่อความหมายถึงการที่เมืองเพชรบูรณ์ได้ผ่านพ้นสถานการณ์โรคระบาดมาได้แล้ว โดยไม่มีความเสียหายอะไรรุนแรง ฉะนั้น นับจากนั้นไป แผ่นดินเพชรบูรณ์ ก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย และอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปข้อความด้านบนสุดเปลี่ยนมาใช้คำกลอน เป็น 2 บันทัดว่า “แรมสิบห้าค่ำเดือนสิบ ดาวกระพริบนภาใส อุ้มพระดำน้ำวันสารทไทย ร้อยรวมใจชาวประชา”

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ


รูปองค์พระพุทธมหาธรรมราชาสีทองอร่าม อยู่บนกระเซ็นน้ำ มีประกายรัศมีออกมาจากหม้อยาอคทะที่อยู่บนพระหัตถ์สายน้ำเป็นรูปพญานาคอยู่ทั้ง 2 ข้าง สื่อถึง พญานาคเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ เป็นเจ้าแห่งสัตว์น้ำทั้งปวง เป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำที่ผู้คนในอุษาคเนย์ให้ความนับถือ เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพและในการทำการเกษตรนอกจากนั้น พญานาคยังมีความเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนา ที่เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ พญานาคก็เคยได้มาแผ่พังพานกันฝนให้กับพระพุทธเจ้า ดังที่เราเคยเป็นพระพุทธรูปนาคปรกนั่นเองนอกจากนั้น ยังได้มีการออกแบบตัวอักษรใหม่ ที่นำมาใช้เป็นชื่องานประเพณีเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยรูปแบบตัวอักษรนี้ มีชื่อว่า “กาญจนาคา”
ออกแบบโดย : Nawin Khongwarakhom

👉 แนะนำให้เราไปรีวิวที่ไหน
📨 Inbox : m.me/kinteawphetchabun
☎️ Call : 088 280 7753

📢 ติดตามพวกเรากินเที่ยวเพชรบูรณ์ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่
📌 เว็บไซต์ : กินเที่ยวเพชรบูรณ์